วิธีการออกแบบฐานข้อมูล
ข้อคำนึงพื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูล
คือ
การนำข้อมูลเข้าไปจัดเก็บ
ในตำแหน่งที่สามารถเรียกออกมา
แสดงผลได้ตรงกับความต้องการ
และมีประสิทธิภาพ ดังนั้น
กระบวนการวิเคราะห์จะเริ่มการพิจารณา
ดังนี้
-
วิเคราะห์เป้าหมายของฐานข้อมูล
เพื่อที่จะทราบว่าจะเก็บข้อมูลประเภทไหน
วัตถุประสงค์ของการใช้งาน
และต้องการประมวลผลอะไรบ้าง
จะทำให้ทราบขอบเขตในการทำงาน
และการรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้อง
กับการใช้งาน
-
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล
เพื่อจัดกลุ่มข้อมูลสำหรับการจัดเก็บ
และพิจารณาความสัมพันธ์
ในด้านการประมวลผล
เพื่อแสดงผลที่ต้องการได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
-
วิเคราะห์การจัดเก็บข้อมูล
เมื่อทราบจุดมุ่งหมาย และ
ความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆแล้ว
จึงนำมาจัดกลุ่มเพื่อกำหนด
Table ที่ใช้ในการเก็บให้สอดคล้องกับการทำงาน
และความสามารถของ Access
-
วิเคราะห์รายละเอียดของข้อมูล
เพื่อทำให้ฐานข้อมูล
มีสารสนเทศที่เพียงพอกับวิเคราะห์
และการใช้งานในแต่ละ Table
ควรจัดเก็บรายละเอียดต่างๆ
ให้ครบถ้วน
-
วิเคราะห์การไหลของข้อมูล
เพื่อทำให้สามารถ ออกแบบขั้นตอนการทำงาน ของโปรแกรมให้สอดคล้อง กับลักษณะการทำงาน มีความสะดวก และป้องกันความผิดพลาด หรือการรวบรวมสารสนเทศไม่ครบ
การกำหนด
Table ตามคุณลักษณะของข้อมูล
จากการที่
Access เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ออกแบบในลักษณะ
Relational Database ดังนั้น
วิธีการ
ออกแบบต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของ
Table ในการใช้งานประกอบด้วย
จึงจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูล
และเรียกงานมาใช้ได้สะดวก
เพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายถึงวิธีการจำแนกข้อมูลที่นำไปเก็บไว้
Table จึงแบ่งลักษณะการประยุกต์
Table ตาม
วัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลออกเป็น
2 ลักษณะ คือ
-
Table
เก็บข้อมูล
ข้อมูลในที่นี้หมายถึง
ข้อมูลต่างๆ
ที่มีการบันทึกเป็นประจำ
เช่น รายการขายสินค้า
รายการรับเข้าสินค้า
การมาทำงานของพนักงาน
เป็นข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์และประมวลผล
-
Table
เก็บค่าคงที่
ค่าคงที่ในที่นี้หมายถึง
ข้อมูลที่ใช้การประกอบในการวิเคราะห์
มีการเปลี่ยนแปลงน้อย
เช่น รายชื่อลูกค้า
รายชื่อพนักงาน
รหัสเครื่องจักร
การแบ่งข้อมูลและ
Table ออกเป็น 2
ลักษณะดังกล่าว
จะทำให้สะดวกในการจัดเก็บ
และการวิเคราะห์โดย
Table
เก็บข้อมูล
จะกำหนดให้พิจารณาเก็บเฉพาะข้อมูลเบื้องต้น
ที่ต้องนำไปใช้ในการประมวล
ในส่วน Table เก็บคงที่
จะนำไปใช้งาน
เพื่อป้องกันการป้อนค่าผิด
ด้วยการใช้วิธีเลือกรายการที่มีอยู่
(เช่น สร้างเป็น Combo box)
หรือใช้ดึงมาแสดงผลผ่านคิวรี่
ในการจัดแบ่งตามคุณสมบัติของ
Table จะทำให้การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บ
และ
การประมวลผลข้อมูลทำได้โดยสะดวก
|