widebase - SQL tutor

Home

  IT A-Z Access tutor Excel tutor SQL tutor

SQL เบื้องต้น

1. SQL
2. Relational Database
3. การเลือกข้อมูล
4. การสร้าง Table
5. การกำหนด key
6. การแก้ไข Table
7. การป้อนข้อมูล
8. การปรับปรุงข้อมูล
9. การลบข้อมูล
10. การลบ Table

SQL

SQL เบื้องต้น

SQL Link

 

4. การสร้าง Table

CREATE TABLE statement ใช้ในการสร้าง Table ขึ้นมาใหม่

ไวยากรณ์1 รูปแบบการสร้าง Table อย่างง่าย

CREATE TABLE tablename
     
(column1 datatype,
       column2 datatype,
       column3 datatype, …);

ไวยากรณ์ 2 รูปแบบการสร้าง Table โดยมีกำหนดข้อกำหนด หรือ constraint

CREATE TABLE tablename
      (column1 datatype [constraint],
       column2 datatype [constraint],
       column3 datatype [constraint],…);

      
[] – optional

tablename ระบุชื่อ Table
column ระบุคอลัมน์ที่ต้องการ
datatype กำหนดประเภทข้อมูลของคอลัมน์
constraint ข้อกำหนด หรือคุณสมบัติของคอลัมน์

ตัวอย่าง

CREATE TABLE employee
(first varchar(15),
last varchar(20),
age number(3),
address varchar(30),
city varchar(20),
state varchar(20));

 การสร้าง Table ใหม่ให้พิมพ์คำสั่ง CREATE TABLE ตามด้วยชื่อ Table แล้วพิมพ์เครื่องหมายวงเล็บเปิด ตามด้วยชื่อคอลัมน์ แล้วกำหนด ประเภทข้อมูล ถ้าต้องการกำหนด constraint แล้วพิมพ์เครื่องหมายจุลภาค (,) จากนั้นให้พิมพ์คอลัมน์อื่นต่อไป โดยแบ่งแต่ละคอลัมน์ด้วยจุลภาค จนถึงคอลัมน์สุดท้าย ให้พิมพ์ตามเครื่องหมายวงเล็บปิด ตามด้วยเครื่องหมาย semicolon (;)

การกำหนดคอลัมน์

ชื่อคอลัมน์ สามารถกำหนดเป็นตัวอักษร หมายเลข และเส้นใต้ แต่ไม่เกิน 30 ตัวอักษร และไม่เป็น reserve word ของ SQL (เช่น SELECT, CREATE เป็นต้น)

ประเภทข้อมูล ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะเก็บในคอลัมน์ เช่น first เป็นการเก็บชื่อพนักงาน ควรกำหนดเป็น CHAR หรือ VARCHAR (variable-length character), age เก็บอายุ ควรกำหนดเป็น NUMBER เป็นต้น

ประเภทข้อมูลที่ใช้บ่อย

CHAR(size) ตัวอักษรชนิดความยาวคงที่ size ระบุจำนวนตัวอักษรได้ไม่เกิน 255 ไบต์
VARCHAR(size) ตัวอักษรชนิดความยาวแปรผันในการเก็บ size ระบุจำนวนตัวอักษร
NUMBER(size) ตัวเลข size กำหนดจำนวนหลักที่ต้องการ
DATE วันที่
NUMBER(size,d) ตัวเลขชนิดมีทศนิยม size กำหนดจำนวนหลักทั้งหมดรวมถึงทศนิยม d กำหนดตำแน่งทศนิยม

constraint เป็นตัวเลือกในการกำหนดคอลัมน์ โดย constraint เป็นกฎหรือคุณสมบัติ เช่น กำหนดเป็น primary key หรือควบคุมค่าที่ป้อนเข้ามา เช่น not null ใช้เป็นการระบุว่าคอลัมน์ต้องมีค่าเสมอ ห้ามเป็นช่องว่าง unique ใช้เป็นการบังคับว่าค่าของคอลัมน์ต้องเป็นค่าแบบไม่ซ้ำ check ใช้ในการตรวจสอบค่าก่อนนำเข้า

การกำหนด constraint สำหรับ primary key และ foreign key  ดูในหัวข้อ key

 

 

สงวนลิขสิทธิ์